เกี่ยวกับเรา
ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่อย่างสมดุลย์ของระบบนิเวศแม่น้ำ
วิสัยทัศน์ของสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
ความเป็นมาของสมาคม
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต หรือ Living River Siam Association เดิมชื่อ เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Rivers Network) หรือที่เรียกกันย่อๆว่า "ซีริน" (SEARIN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันหยุดเขื่อนโลกเพื่อปกป้อง แม่น้ำและชีวิต ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ตามทะเบียนเลขที่ 2487 ต่อมาจดทะเบียนเป็นสมาคมเมื่อ 21 ธันวามคม 2555 ตามทะเบียนเลขที่ 20/2555
องค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิตก่อตั้งโดยนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนที่มีประสบการณ์ ในการทำงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เนื่องจากการตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและโครงการผันน้ำในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขงและสาละวิน ที่มีต่อสังคม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยแม่น้ำในอนุภูมิภาคนี้โดยเฉพาะชนพื้นถิ่น
14 มีนาคม 2542
ก่อตั้งสมาคม
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต หรือ Living River Siam Association เดิมชื่อ เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Rivers Network) หรือที่เรียกกันย่อๆว่า "ซีริน" (SEARIN)
14 มีนาคม 2542
8 กุมภาพันธ์ 2554
เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์
ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
21 ธันวามคม 2555
เป็นสมาคม
จดทะเบียนเป็นสมาคมเมื่อ 21 ธันวามคม 2555 ตามทะเบียนเลขที่ 20/2555
21 ธันวามคม 2555
พันธกิจ
หน้าที่ขององค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิตคือ การปกป้องแม่น้ำและระบบนิเวศ ปกป้องสิทธิและวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จากการพัฒนาทรัพยากรน้ำขนาดใหญ่ เช่น การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง และสาละวินซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของอนุภูมิภาค
สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นตนเอง
ยุทธศาสตร์
หน้าที่ขององค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิตคือ การปกป้องแม่น้ำและระบบนิเวศ ปกป้องสิทธิและวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จากการพัฒนาทรัพยากรน้ำขนาดใหญ่ เช่น การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านโดยเราได้ดำเนินการตาม 3 ยุทธศาสตร์สำคัญๆ ดังนี้
สนับสนุนการจัดการน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น บนฐานของความรู้และวัฒนธรรมพื้นบ้าน
เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรท้องถิ่น