ลำดับกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เขื่อนสิรินธร

fas fa-pencil-alt
สมัชชาคนจน
fas fa-calendar
23 มีนาคม 2539

25-23 มีนาคม 2539      

ชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนสิรินธรร่วมกับกลุ่มสมัชชาคน จนเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น มีการเจรจากับตัวแทนของรัฐบาล โดยรมว.วิทยาศาสตร์เป็นประธานกับกลุ่มผล กระทบจากเขื่อน ได้ข้อยุติเป็นผลเจรจา ผ่านครม.ให้ความเห็นชอบวันที่ 22 เมษายน 2539

22 เมษายน 2539

มติครม.ให้ความเห็นชอบผลการเจรจาวันที่ 25-23 มีนาคม 2539 สรุปย่อดังนี้

           กำหนดหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขื่อนคือ ครม.มีข้อสังเกตว่าการสร้างเขื่อนอาจ มีผลกระทบต่อประชาชนบางส่วนและสมควรแก้ไขให้ ควรจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยยึดมติ ครม. 11 กรกฎาคม 2532 ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเขื่อนใดที่มีปัญหาให้มีการตั้งคณะกรรมการ กลางขึ้นมา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด ให้มีการประสานงานเกี่ยว กับการระงับการดำเนินคดีต่อไป

14 พฤษภาคม 2539

นายกรัฐมนตรีนายบรรหาร ศิลปอาชา มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 63/2539 แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อ ช่วยหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีรวม.วิทยาศาสตร์ นาย ยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นประธาน เพื่อดำเนินการตามมติครม.วันที่ 22 เมษายน 2539

18 มิถุนายน 2539

ผวจ.อุบลราชธานี มีคำสั่งจังหวัดอุบลราชธานี ที่ 1555/2539 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ จริงระดับจังหวัดเพื่อช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร

25 มิถุนายน 2539

คณะกรรมการกลางดังกล่าวมีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการ ตรวจสอบว่าความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และสมควรพิจารณาช่วยเหลือเช่นใด

5 สิงหาคม 2539

 

จังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับพื้นที่ ดำเนินการสำรวจราษฎรจำนวน 2,526 ครอบครัว พบว่า “การได้รับค่าชดเชยจากทางราชการ ราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนมาก จะได้รับแต่ไม่เต็มจำนวนตามที่ราษฎรถือครองจริง ส่วนการจัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนใหญ่จะได้รับแต่ไม่เอา หรือเอาไว้แล้วอพยพไปที่อื่นเนื่องจากพื้นที่ ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร”

21 สิงหาคม 2539

คกก.ตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัดฯ ประชุมพิจารณาผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการตรวจ สอบข้อเท็จจริงระดับพื้นที่ เห็นชอบดังนี้

เห็นควรให้มีการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรครอบครัวละ 15 ไร่ รวมประมาณ 39,000 ไร่ โดยมีแนวทางดังนี้

จัดสรรที่ดินที่มีอยู่ขณะนี้จำนวนประมาณ 16,000 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย 14,000 ไร่ อยู่ในเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณ 2,000 ไร่

สำหรับที่ดินอีกประมาณ 23,000 ไร่ ดำเนินการโดยให้จัดหาที่ดินในบริเวณอื่นๆเพิ่มเติม เช่นที่ป่าสงวน เสื่อมโทรม หรือ

ให้จัดสรรผ่านหน่วยงานต่างๆให้ประชาชนจัดหาซื้อที่ดินโดยราคาอัตราเฉลี่ยใกล่เคียงกับที่ดินในข้อ (1) และ (2)

ให้จัดตั้งกองทุนเงินกู้ให้ราษฎรครอบครัวละ 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 บ./ปี เป็นเวลา 20 ปี

เรื่องราษฎรขอมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เห็นควรแก้ไข กฎหมายหรือระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการที่จะให้ประชาชนเข้าไปใช้ทรัพยากร ในอ่างเก็บน้ำเขื่อน สิรินธร

เรื่องราษฎรขอที่ดินใน บ.โนนจันทร์เก่าคืน พร้อมเอกสารสิทธิ์ เห็นควรให้ราษฎรอยู่ต่อไป พร้อมเอก สารสิทธิ์

เรื่องราษฎรขอให้ทางราชการถอนฟ้องคดี 12 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการ ชุมนุมของผู้ได้รับผลกระทบจากการ สร้างเขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ทางราชการ

23 กันยายน 2539

ประชุมคณะกรรมการกลางฯเพื่อพิจารณาความเห็นเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงจังหวัด อุบลราชธานี ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันในเรื่องการช่วยเหลือราษฎรได้

1 ตุลาคม 2539

ประชุมคณะกรรมการกลางฯเพื่อพิจารณาความเห็นเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จังหวัด อุบลราชธานีอีกครั้ง ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ได้ข้อเสนอเป็นแนวทางว่า ให้เสนอเรื่องต่อไปให้ คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามมติครม. 22 เมษายน 2539 ที่มีรองนายกรัฐ มนตรี นายกร ทัพพะรังสี เป็นประธาน

22 ตุลาคม 2539

(ไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามฯ) จึงเสนอเรื่องเข้าสู่ครม.มีมติว่า

ในเรื่องการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ จึงให้คณะกรรม จัดที่ดินแห่งชาติรับไปดำเนินการโดยประสานการปฏิบัติกับกรามประชาสงเคราะห์ กฟผ.และ จ.อุบล ราชธานีในส่วนที่เกี่ยวข้อง

แม้ว่ากระทรวงเกษตรฯจะได้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน สิรินธรด้วย การเข้าไปสำรวจคุณภาพดินและดำเนินการด้านการส่งเสริมการเกษตรและอาชีพที่เหมาะสม แต่ก็เห็นควร ให้ช่วยเหลือเพิ่มเติมในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค รวมทั้งการจัดโครง การให้กู้ยืมระยะยาวดอกเบี้ยต่ำและโครงการจัดหางานอาชีพอื่นให้ทำ จึงมอบให้สำนักนายกรัฐมนตรี (กฟผ.) กระทรวงมหาดไทย(กฟภ.และการประปาส่วนภูมิภาค) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงานฯรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบ ทั้งนี้โดยไม่ผูกพันกับ กรณีการสร้างเขื่อนสิรินธร

กรณีที่จังหวัดกำลังดำเนินการเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการฝ่ายราษฎรเกี่ยวกับการให้ราษฎร มีส่วน ร่วมในการจัดการทรัพยากรอ่างเก็บน้ำ ซึ่งต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้จังหวัดดำเนินการจัด สัมมนาและประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป

สำหรับการระงับคดี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯรับไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2539 ต่อไป

27 มกราคม 2540

สมัชชาคนจนเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการช่วยเหลือราษฎรจึงยื่นข้อเสนอเรียกร้องต่อรัฐบาล มีการเจรจาในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมีนายอดิศร เพียงเกษ เป็นประธาน

14 มีนาคม 2540

จากการเจรจากันในวันที่ 27  มกราคม 2540  ได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางการช่วยเกลือราษฎร ตาม ข้อเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัด โดยเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีมติที่ประชุมดังนี้

ให้ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนสิรินธรตามที่คณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จ จริงระดัลบจังหวัดเสนอมาจำนวน 2,526 ครัวเรือน และจัดหาที่ดินให้ครัวเรือนละ 15 ไร่

ให้มีคณะทำงานเพื่อตรวจสอบว่ามีพื้นที่ที่จะนำมาจัดสรรหรือไม่

ภายหลังการตรวจสอบให้นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมในการจัดสรรอีกครั้งหนึ่ง  

19 มีนาคม 2540

คณะทำงานเพื่อตรวจสอบว่ามีพื้นที่ที่จะนำมาจัดสรรหรือไม่ ลงพื้นที่ ผลสำรวจสรุปว่า ที่ดินที่จะนำมาจัด ให้ราษฎรมีอยู่เพียงหนึ่งแปลงเนื้อที่ 1,519 ไร่

4 เมษายน 2540

การประชุมกลุ่มปัญหาเขื่อน มีนายอดิศร เพียงเกษ เป็นประธาน พิจารณาแนวทางการดำเนินการจัดสรร ที่ดินให้ราษฎร ที่ประชุมหาข้อสรุปไม่ได้ จึงมีความเห็นจะนำข้อเสนอในที่เจรจา 2 แนวทางหลักปรึกษา นายกรัฐมนตรีต่อไป

การนำที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองประมาณ 1,519 ไร่ มาจัดให้ราษฎรบางส่วน

การจัดหาที่ดินส่วนที่เหลือราษฎรจะหาซื้อเอง โดยนำหลักการกองทุนที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายคืนรัฐมาใช้

11 เมษายน 2540

มีการเจรจาระหว่างผู้แทนสมัชชาคนจนกับผู้แทนรัฐบาลมีมติว่า “ที่ประชุมมีข้อสรุปให้รมช.วว.(นายอดิศร เพียงเกษ) จัดตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินให้เป็นไปตามทางที่ตกลงกันไว้ ในการประชุมเจรจาแก้ไขปัญหาเรื่องเขื่อนสิรินธรวันที่ 4 เมษายน 2540 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเสนอ ที่ประชุมการเจรจาปัญหาเรื่องเขื่อนให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอครม.

17 เมษายน 2540

มติ ครม.ตามผลการเจรจาวันที่ 11 เมษายน 2540 และรมช.วว.มีคำสั่งที่ 91/2540 ลงวันที่ 17 เมษายน 2540 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรนธร ดำเนินการตามมติ ครม.

29 เมษายน 2540

 

ครม.ประชุมปรึกษา ลงมติว่า เห็นชอบผลการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาสมัชชาคนจนกรณีผู้ได้รับผลกระทบ จากโครงการสร้างเขื่อน กรณีเขื่อนสิรินธรดังนี้

เห็นชอบกับการช่วยเหลือราษฎร จำนวน 2,526 ครอบครัว ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อ ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร โดยจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 15 ไร่

เนื่องจากที่ดินที่จะต้องทำการจัดสรรให้แก่ราษฎรทั้งหมด 37,890 ไร่ แต่คณะทำงานฯสามารถหาที่ดินที่จะ นำมาจัดสรรที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อยได้เพียง 1,519 ไร่ และปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่า กำลังฟื้นตัว ไม่สมควรนำมาจัดสรร ควรปล่อยให้เป็นป่าสมบูรณ์ต่อไป ส่วนที่ดินอื่นๆเหมาะสมกับการ เกษตรอยู่ไกล คณะทำงานไม่สามารถจัดหาได้

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือเป็นกรณี พิเศษ ให้ราษฎรจัดซื้อที่ดินด้วยตนเองครอบครัวละ 15 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บ. คิดเป็น ครอบครัวละ 480,000 ไร่ รวมเป็นเงิน 1,212,480,000 บาท(หนึ่งพันสองร้อยสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นบาท)

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้เป็นไปอย่างมีระบบและแก้ไขปัญหาระยนะยาว จึงมีมติอนุมัติหลักการให้ จัดตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรโดยเฉพาะ ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการ ระหว่าง ดำเนินการ ให้คณะทำงานยังคงจัดหาที่ดินต่อไป

2 กันยายน 2540

ครม.อนุมัติให้กระทรวงการคลังนำเงินที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ จำนวน 1,200 ล้านบาท เข้า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อนำไปใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลบกระทบจาก โครงการสร้างเขื่อน

22 ตุลาคม 2540

นายอดิศร เพียงเกษ รมช.วว.ประธานคกก.ติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน ได้ทำหนังสือที่ วว 0100/5034 นำเสนอเรื่องเขื่อนสิรินธรเข้าสู่การพิจารณาของครม.ดังนี้

ให้ยืนยันไปยังกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมติครม. 2 ก.ย.2540 เพื่อชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการ สร้างเขื่อนสิรินธร ตามมติครม. 29 เม.ย.2540

ขออนุมัติงบกลาง จำนวน 12,480,000 บาท เพื่อชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน สิรินธร โดนโอนเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อสมทบกับเงินจำนวน 1,200 ล้านบาท ที่ได้โอนเข้า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรไปก่อนแล้วตามมติครม.2 ก.ย.2540            

แต่มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีใหม่ จึงไม่ได้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ตามที่นายอดิศร เพียงเกษเสนอไว้  และไม่ได้มีการดำเนินการจ่ายเงิน (เนื่องจากรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้ลาออก)

13 กุมภาพันธ์ 2541

ประชุมคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน กรณีเขื่อนสิรินธร ที่ประชุมมีมติให้เสนอเรื่องเข้า สู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ใน 2 ประเด็นตามหนังสือ วว 0100/5034

21 เมษายน 2541

ไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนยบ้อนหลังสำหรับกรณีเขื่อนที่สร้างไปแล้ว

2 มิถุนายน  2543

นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ตาม ที่สมัชชาคนจนได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา 16 กรณีปัญหา รวมถึงกรณีปัญหาเขื่อนสิรินธร

6 กรกฎาคม 2543

คณะกรรมการกลางรายงานสรุปมติคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน เสนอนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรณีเขื่อนสิรินธร ดังนี้

เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านเป็นการ เฉพาะกรณี โดยไม่ให้มีผลผูกพันกรณีอื่นๆ

กรณีบ.โนนจันทร์เก่า ให้สั่งการเพื่อดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ หากไม่ได้ใช้ประ โยชน์ในกิจการของกฟผ. ควรพิจารณาคืนให้แก่ชาวบ้านตามข้อเรียกร้อง ตามมาตรา 49 วรรคท้ายของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540  โดยจ.อุบลราชธานีเป็นผู้ประสานงาน

25 กรกฎาคม 2543

ครม.ประชุมพิจารณาเรื่องมติคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนสิรินธร มีมติ “ไม่ เห็นชอบ เนื่องจากการจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรครบถ้วนแล้ว ประ กอบกับคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวัยที่ 21 เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายค่าทดแทนหรือค่าขดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลัง สำหรับเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว”

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง