eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

3.มาตราการการลดปัญหาผลกระทบและการจ่ายค่าชดเชย

                “โครงการไม่เคยมองดูปัญหาให้ลึกถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นพวกเขาแค่ลงมาดูและพูดไม่กี่คำว่าจะ เกิดอะไรขึ้นและก็เงียบ หายไป พวกเขาไม่เคยสนใจในปัญหาของเรา แม้แต่เรื่องการจ่ายค่าชดเชยพวกเขาก็ ไม่เคยพูดสักคำ ” ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านสบเงิงเมื่อ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2541

                ประชาชนลาวหลายพันคนซึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของโครงการเขื่อนเทินหินบูนยังไม่ได้รับการ จ่าย ค่าชดเชยกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น และก็ไม่มีแผนงานใดๆที่จะมารองรับพวกเขาเลย ในอนาคต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 รัฐบาล ลาวซึ่งดำเนินงานตามคำให้การปรึกษาของธนาคารเพื่อการ พัฒนาเอเชีย(ADB)ได้เซ็นสัญญาข้อตกลงกับบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์ (THPC) ซึ่งได้กำหนดให้บริษัทมี หน้าที่รับผิดชอบในการชดเชยและการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนเงิน 1 ล้าน เหรียญ สหรัฐ ซึ่งตัวเลขนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานขั้นต่ำสุดของการสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม ดังที่ได้ระบุไว้ในรายงานการ ศึกษาผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อม ( EIA ) ของบริษัทNorpower/Norconsult ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาที่ขาด ความน่าเชื่อถือ  

                ในปีพ.ศ. 2539 หนึ่งปีครึ่งหลังจากที่ได้เริ่มมีการสร้างเขื่อน รายงานการศึกษาทางสิ่งแวดล้อมฉบับ ใหม่ซึ่งจัดทำโดยองค์กร กองทุน NORAD ได้เปิดเผยว่าค่าการชดเชยความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อมจะมากกว่า ที่คาดไว้ในตอนแรก ซึ่งได้ทำให้ผู้สังเกตการณ์ จำนวนมากได้ตั้งคำถามกับการขาดแคลนเงินทุนในมาตรการ การแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 บริษัทได้เซ็นสัญญา ข้อตกลงเพิ่มเติมกับรัฐบาลเพื่อให้มี การเพิ่มงบประมาณการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจาก 1 ล้านเป็น 2.59 ล้านเหรียญสหรัฐ และบริษัท เทินหิน- บูนเพาเวอร์(THPC) ยังได้ตกลงที่จะปล่อยน้ำออกจากเขื่อนจำนวน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเป็นอย่างต่ำ และการชะตะกอน ออกจากเขื่อน ข้อตกลงนี้เป็นการทำให้บริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC) พ้นภาระรับผิด ชอบต่อการแก้ปัญหาผลกระทบและการ จ่ายค่าชดเชยที่จะเกิด ขึ้นอีกตลอดอายุของโครงการ 

                ภายในจำนวนต้นทุนของโครงการทั้งหมด 260 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งรวมถึงงบประมาณโครงการลด ปัญหาผลกระทบและ การจ่ายค่าชดเชยจำนวน 2.59 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย แต่มีเพียงจำนวน 50,000 เหรียญ สหรัฐเท่านั้นที่ถูกจัดสรรไปเพื่อการอพยพ ชาวบ้านและการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ เงินงบประ มาณการลดปัญหาผลกระทบจำนวน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ได้ถูก แบ่งไปใช้ในการก่อสร้างบ่อพักน้ำที่ปลาย คลองส่งน้ำเพื่อช่วยลดการพังทลายของดินในแม่น้ำไฮระหว่างช่วงน้ำไหลบ่าสูงสุด ส่วน เงินอีกก้อนจำนวน 130,000 เหรียญสหรัฐถูกแบ่งใช้ในการออกแบบปรับปรุงเขื่อนเพื่อควบคุมระบบการไหลของน้ำไปยังท้าย น้ำและ ยังรวมไปถึงโครงการติดตามและประเมินผลจำนวน 300,000 เหรียญสหรัฐ  งบประมาณการรื้อถอน สิ่งกีดขวางในแม่น้ำไฮ 100,000 เหรียญสหรัฐ การปรับปรุงคลองส่งน้ำจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐ การ บำรุงรักษาสภาพน้ำและป้องกันการสะสมของของเสีย 100,000 เหรียญสหรัฐ โครงการการประชาสัมพันธ์ ในพื้นที่จำนวน 15,000 เหรียญสหรัฐ เงินงบประมาณเพื่อการศึกษาด้านการชล ประทาน การประมง และการ พัฒนาชนบทจำนวน 250,000 เหรียญโดยแผนงานการศึกษานี้บริษัทที่ปรึกษาจะได้เป็นผู้นำไปดำเนิน งาน โดยที่ยังไม่มีงบประมาณที่จะมารองรับการดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอในการศึกษานี้เลย  

                งบประมาณเพื่อการสร้างบ่อพักน้ำและการปรับปรุงตัวเขื่อนเพื่อควบคุมการไหลของน้ำไปยังท้าย น้ำ ซึ่งรวมแล้วเป็น จำนวนถึง 67 % ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการลดผลกระทบจากเขื่อน โดยความ จริงแล้วงบประมาณส่วนนี้ควรที่จะได้ถูกรวม อยู่ในส่วนหนึ่งของงบประมาณการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้น โครงการมากกว่าที่จะนำมารวมอยู่ในงบประมาณของ โครงการลดปัญหาผลกระทบนี้ ซึ่งใน ประเทศต่างๆที่พัฒนาแล้วต่างก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นสำหรับโครงการในลักษณะนี้ งบประมาณ ส่วนใหญ่ถูก จัดสรรไปเพื่อการศึกษาและการติดตามประเมินผล แต่ข้อตกลงดังกล่าวแทบไม่ได้จัดการกับปัญหาในเรื่อง การจ่ายค่า ชดเชยความสูญเสียแก่ผู้ได้รับผลกระทบเลย   

                สำนักงานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Commit -tee Office,EMCO)

                ตามข้อสัญญาเมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้มีข้อตกลงให้มีการจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการการจัดการ สิ่งแวดล้อม” เพื่อจะควบ คุมการดำเนินงานตามมาตรการลดผลกระทบและโครงการติดตามประเมินผล สำนักงานนี้เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของบริษัทเทิน หินบูนเพาเวอร์ (THPC) มีเจ้าหน้าที่ 3 คน ซึ่งถูกย้ายตำ แหน่งมาจากรัฐบาลลาว โดยมาจากการไฟฟ้าแห่งประเทศลาว ( Electricite du Laos, EdL ) 1 คน และอีก 2 คนเป็นตัวแทนมาจากแต่ละจังหวัด 2 จังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานคือช่างเทคนิคที่มาจากการไฟฟ้าแห่ง ประเทศลาว (EdL) และหนึ่งใน 2 ตัวแทนนั้นดำรงตำแหน่งช่างไฟฟ้า เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการ จัดการสิ่งแวดล้อม (EMCO) และเจ้าหน้าที่บางคนของบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC)กล่าวว่าพวกเขาต้อง การที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการการ จัดการสิ่งแวดล้อมขึ้นตรงต่อหน่วยงานของรัฐบาลลาว เช่น สำนัก งานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ( Science Tecnology and Environmental Office ) มากกว่าที่จะ ขึ้นตรงกับบริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC) แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดรูปแบบ สำนักงาน คณะกรรมการ การจัดการสิ่งแวดล้อม(EMCO)มีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อโครงการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดและได้ดูแล การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ การประชาสัมพันธ์โครงการ และการติดตามประเมินผล ซึ่งได้ รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อการ ประมงและการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และดูแลในเรื่องการศึกษาทาง ด้านการพัฒนาชนบท การชลประทาน และการจัดการการประมง การที่สำนักงานแห่งนี้มีเจ้าหน้าที่น้อยและ ต้องขึ้นกับส่วนกลางและส่วนจังหวัดทำให้เป็นปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ 

                ตามรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม เงินเกือบทั้งหมดในจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐในการ อพยพและการจ่ายค่าทดแทนได้ถูกใช้ไปในการจัดชื้อที่ดินในการวางเสาส่งไฟฟ้า ใน ขณะนี้ไม่มีการเจรจาการจ่ายค่าชดเชยเพิ่มเติม สำหรับการสูญเสียที่ดินและทรัพยสินของชาวบ้านในลักษณะ เป็นรายกรณีไป เจ้าหน้าที่ของทางสำนักงานยังได้กล่าวว่ามันมีความจำ เป็นที่ต้องมีการขยายเวลาการศึกษา วิจัยมากกว่านี้ก่อนที่จะพูดได้ว่าโครงการนี้มีผลกระทบต่อชาวบ้านหรือไม่ แต่ในตอนนี้เจ้าหน้าที่ สำนักงานก็ ไม่ได้คำนึงและยอมรับถึงความจำเป็นของการจ่ายค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียทรัพยากรการประมงและ ป่าไม้อันเนื่องมา จากโครงการ 

                หมู่บ้านน้ำสนานตั้งอยู่ใกล้กับอาคารผลิตไฟฟ้าข้างๆคลองส่งน้ำและบ่อพักน้ำ ชาวบ้านยังได้กล่าว ว่ามีที่นาของชาวบ้าน 6 ครอบครัวได้ถูกเวนคืนเพื่อไปสร้างคลองส่งน้ำ อ่างพักน้ำ และถนนเข้าโครงการ โดยโครงการได้สัญญาว่าจะจัดสรรที่นาให้ใหม่ แต่ พื้นที่ที่ทางโครงการจัดหาให้นั้นมีแต่ที่ที่เป็นหลุมเป็น บ่อเนื่องจากมีการขุดตักหน้าดินไปและไม่มีความเหมาะสมที่จะทำการเกษตร ได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงปฏิเสธที่ จะรับพื้นที่ดังกล่าวเพราะไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ มีชาวบ้านเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ได้รับเงินในการ ชดเชย ในขณะที่เหลืออีก 5 รายยังไม่ได้รับเลย ชาวบ้านหลายคนได้แสดงถึงความผิดหวังกับสถานการณ์ที่ เป็นอยู่และไม่มั่นใจในการ แก้ไขปัญหา ตามคำกล่าวของสำนักงานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMCO) การจ่ายค่าชดเชยสำหรับชาวบ้านน้ำสนานที่ ถูกเวนคืนที่ดินได้ถูกจัดเตรียมใว้แล้ว แต่ก็ยังต้องมี การจัดหางบประมาณสำหรับปัญหาที่อาจจะมีขึ้นตามมาอีก 

                ชาวบ้านทั้งหมดที่ได้ให้สัมภาษณ์ในหมู่บ้านอื่นๆที่ได้ลงไปทำการศึกษาได้กล่าวอย่างเดียวกันว่าที่ผ่านมายังไม่เคยมี การ พูดคุยจากตัวแทนโครงการหรือเจ้าหน้าที่ราชการเรื่องการจ่ายค่าชดเชยใดๆเลย 

 

                โครงการการพัฒนาชนบทและจัดการการประมง

                จากข้อตกลงเรื่องการลดปัญหาผลกระทบได้กำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 250,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อการจัด ทำแผนงานในการพัฒนาชนบท การชลประทานและการประมง ซึ่งบริษัทบูรพารูรอลดิวิลอปเมนท์ (Burapha Rural Development) ได้ถูกว่าจ้างให้จัดทำแผนงานนี้ขึ้นภายใต้การปรึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม(EMCO) ซึ่งได้แล้วเสร็จใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ตามแผนงานดังกล่าวต้องใช้งบประมาณมากกว่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในระยะเวลา 5 ปีสำหรับโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น การก่อสร้างถนน การชลประทาน การสนับสนุนสำนักงาน การเกษตรและสาธารณสุข ระดับจังหวัดและอำเภอ การเลี้ยง ปลาในอ่างเก็บน้ำ และส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก โดยเงินทุนเหล่านี้ได้กำลังมี การจัดหาอยู่ซึ่งช่องทางที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือจาก การรับบริจาคจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อสามารถจัด หาเงินทุนได้แล้วแผนงานเหล่านี้จะได้รับการนำไปดำเนินงานโดยผ่านทางคณะ กรรมการการพัฒนาชนบท ของจังหวัดคำม่วนและจังหวัดบอริคำไซรวมทั้งหน่วยงานต่างๆทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด

                บริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC)ยืนยันว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอใว้ในแผนงานนั้น เป็นกิจกรรมเสริมการ พัฒนาให้กับชาวบ้านไม่ใช่การชดเชยหรือการแก้ปัญหาผลกระทบ และบริษัทก็ไม่มี หน้าที่จะต้องรับผิดชอบในการให้เงินกับ โครงการดังกล่าวด้วย แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่บริษัทเทินหินบูน เพาเวอร์(THPC)และบริษัทที่ปรึกษา(Norconsult) ก็ยอมรับกับบาง ส่วนของโครงการนี้ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยว ข้องกับการประมง

                ชาวบ้านบางคนยังคงมีความหวังกับโครงการนี้ซึ่งบอกกับพวกเขาว่าจะได้รับผลประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ถนนเข้า หมู่บ้าน ไฟฟ้า และโรงเรียน ซึ่งจะมาชดเชยปัญหาที่เกิดจากโครงการ อย่างไรก็ตามก็ยัง เป็นที่สงสัยอยู่ว่ากิจกรรมการพัฒนาชนบทที่ เสนอมานี้เป็นการเสริมการพัฒนาให้กับชาวบ้าน หรือเป็นเพียง แค่การแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากโครงการ มีชาวบ้านอีกจำนวน มากซึ่งอยู่ไกลออกไปตามลุ่มแม่น้ำหิน- บูนและแม่น้ำกระดิ่งไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนงานนี้และไม่ได้รับผลประโยชน์จากแผนงาน ที่จะเกิดขึ้น แต่ อย่างไรก็ตามชาวบ้านก็ยังคิดว่ามันไม่เพียงพอกับความเดือดร้อนและการสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งโครงการไม่ เคยที่จะ คำนึงถึงและปฏิเสธที่จะรับผิดชอบมาโดยตลอด

                ในช่วงการพิจารณาแผนงานในการพัฒนาชนบทและการประมงนั้นได้มีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า แผนงานนี้จะได้ผลมากแค่ ไหนแม้จะได้รับทุนสนับสนุน แผนงานที่เกิดขึ้นไม่ได้มีข้อมูลเรื่องการประมง ของชาวบ้านทั้งในอดีตและปัจจุบันอย่างเพียงพอ รวม ทั้งสมมติฐานที่ยังเป็นปัญหาในการเสนอแผนงานดัง กล่าวโดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ หลายแผนงานแสดงให้เห็นถึง การพัฒนาแบบรวมศูนย์อำนาจบนฐานที่เข้มแข็งของหน่วยงานรัฐบาล แผนงานที่เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศลาวเช่นนี้มักจะไม่ประสบ ความสำเร็จในการพัฒนาวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างยั่งยืน แผนงานในการจัดการการประมงนี้ดูเหมือนจะตั้ง อยู่บนสมมติฐานที่กล่าว หาชาวบ้านว่ามีการทำการประมงมากเกินไปจนเกิดปัญหา และพยายามที่จะควบคุม การหาปลาของชาวบ้าน ดังนั้นการที่จะบรรลุวัตถุ ประสงค์ของการเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำจึงดูเหมือนจะเกิด ได้ยาก จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการดำเนินแผนงานเช่นเดียวกันนี้ใน ประเทศไทย เขื่อนน้ำงึมในลาว เอง และประเทศอื่นๆรวมถึงนอร์เวย์ด้วยก็ยังมีทั้งผลดีและผลเสียปะปนกัน 

                กิจกรรมการพัฒนาชนบทได้จำกัดอยู่แค่หมู่บ้านในเขตพื้นที่ผลกระทบโดยตรงใกล้ๆกับตัวเขื่อน โดยไม่ได้รวมถึงหมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อื่นๆทางตอนท้ายของแม่น้ำกะดิ่งและแม่น้ำหินบูนซึ่ง หมู่บ้านเหล่านี้ต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จาก โครงการดังที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้น เงินส่วนใหญ่ของ แผนงานทั้ง 2 นี้ได้ถูกใช้ไปกับการปรึกษาโครงการ โครงสร้างสาธารณูปโภค ต่างๆ ยานพาหนะ และสิ่ง อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้รองรับกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งไม่ได้สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างแผนงานดังกล่าวกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบยังดูคลุมเครือไม่ชัดเจน  ตัวอย่างเช่น ไม่มีความ แน่นอนสำหรับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดว่าจะได้รับการจัดลำดับความ สำคัญในระดับต้นๆให้ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม แผนงานการพัฒนาการชลประทาน แผนงานต่างๆเหล่านี้ จะมีประโยชน์ต่อชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในระยะยาวหรือไม่ยังคงเป็น ประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่า กรณีใดก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่าแผนงานนี้เป็นการทดแทนที่น้อยมากสำหรับปัญหาที่ชาวบ้านกำลัง ประสบอยู่ ในขณะนี้   

 

                การเปรียบเทียบกับกรณีเขื่อนปากมูล

                เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนประเภทน้ำไหลผ่าน (Run of River) ประเภทเดียวกันกับเขื่อนเทินหินบูนแต่ มีขนาดเล็กกว่า ได้รับ การให้กู้ยืมเงินจากธนาคารโลก ( World Bank ) ตั้งอยู่ในประเทศไทยบนแม่น้ำมูล ซึ่งลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปีเดียวกันกับที่เขื่อนเทินหินบูนได้ผ่านการ อนุมัติ ทั้งสองเขื่อนมีประเด็นปัญหาหลักทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ เหมือนกันคือการประมงและการ สูญเสียทางเศรษฐกิจของชุมชน ในปี พ.ศ. 2537 พบว่ามีชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ 1,567 ครอบครัว ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าการคาดการณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและธนาคารโลกถึง 6 เท่า เมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2538 ปรากฏว่าบัญชีรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบที่เรียกร้องขอค่าชดเชยค่าเสียหายเพิ่มขึ้น เป็น 2,506  ครอบครัว[1] ในที่สุดได้มี ข้อตกลงที่จะจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเป็นเงิน สด 30,000 บาท (1,200 เหรียญสหรัฐ) ต่อครอบครัว และอีก จำนวน 60,000 บาทต่อครอบครัวนำไปจัดตั้ง เป็นกองทุนเพื่อการเสริมสร้างรายได้ในท้องถิ่นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยอยู่ภายใต้ การบริหารงานของ หน่วยงานราชการ

                การจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวได้มีขึ้นหลังจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้มีการต่อสู้เรียกร้องมาอย่าง ยาวนานเพื่อที่ได้รับการ ยอมรับถึงความเดือดร้อนของพวกเขา แต่ถึงอย่างไรก็ตามกลุ่มตัวแทนของชาวบ้าน ก็ยังคงไม่พอใจกับค่าชดเชยที่ได้รับจากการเจรจา เนื่องจากว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับความเดือดร้อนที่พวก เขาได้รับจากโครงการเขื่อนปากมูล ในขณะที่การชดเชยยังไม่เพียงพอ และ ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ยัง ไม่ได้รับค่าตอบแทน ข้อตกลงจากการเจรจาที่ปากมูลได้ยอมรับในหลักการในการจ่ายค่าชดเชยโดย ตรงแก่ ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เช่นนี้

                จนถึงเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 จำนวนเงินงบประมาณในการชดเชยและการเวนคืนได้สูงถึง 39 ล้านเหรียญสหรัฐและ ยังคงมีการเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเงินส่วนใหญ่ของงบประมาณจำนวน 34.3 ล้านเหรียญ สหรัฐได้ถูกใช้ไปกับการจ่ายค่าชดเชย[2] หากพิจารณา เปรียบเทียบแล้วจะพบว่าในขณะที่มีความแตกต่างทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคมและด้านอื่นๆระหว่างเขื่อนปากมูลและเขื่อนเทินหินบูน ประสบการณ์ของเขื่อนปากมูล ได้เป็นสิ่งยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนว่าค่าใช้จ่ายในการชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเทิน หินบูน ในประเทศลาวนั้นได้กำหนดไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก หากลองคิดประมาณว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 3,000 คนในโครง การเทินหินบูนต้องการค่าชดเชยเบื้องต้นเป็นเงินคนละ 1,200 เหรียญสหรัฐซึ่งคิดจากค่า ประมาณการต่ำสุด งบประมาณค่าชดเชยจะ มีจำนวนถึง 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากว่างบประมาณนี้เป็น การมากเกินไปที่บริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์(THPC)จะรองรับได้ ย่อม ก่อให้เกิดคำถามกับโครงการว่าการ ดำเนินงานที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ความจริงแล้วทำไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนลาวจริงหรือไม่

                อย่างไรก็ตามนอกจากประเด็นที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(ADB)และ บริษัทเทินหินบูนเพาเวอร์ (THPC) ยังได้กำลังประกาศถึงความสำเร็จของโครงการโดยปฏิเสธไม่ยอมรับถึง ผลกระทบด้านลบที่กำลังเกิดขึ้นต่อชีวิตของ ประชาชน ไม่มีการตรวจสอบและประเมินผลจากภายนอกใดๆ ว่าเงินค่าชดเชยซึ่งได้ถูกจัดสรรไว้ในจำนวนไม่มากนั้นได้ถูกส่งถึงมือ ผู้ได้รับผลกระทบจริงหรือไม่ และไม่ มีระบบการจัดทำเอกสารข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน บริษัท เทินหินบูนเพาเวอร์(THPC) เองก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการพยามที่จะติดตามค้นหาหรือตรวจสอบความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก โครงการ ชาวบ้านหลายคนกล่าวว่าพวกเขามีความรู้สึกอึดอัดและไม่ สบายใจในการพูดหรือถกถึงปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของโครงการหรือข้าราชการ

 


[1] “Pak Mun: The lessons are clear, but is anyone listening?” Watershed Vol.1,No 3, TERRA, Thailand. Page21.

[2] TERRA, 1996,page 23.

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา